ทำไมถึงเกิด..โรคเก๊าท์?

โพสเมื่อ : 1 ธันวาคม 2022 15:20 น. หมวดหมู่: ข่าวสารและกิจกรรม

โรคเก๊าท์เกิดจากภาวะกรดยูริก (uric acid) ในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานจนเกิดเป็นผลึกสะสมอยู่ในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดบวมอย่างรุนแรง ทั้งนี้ กรดยูริกเปรียบเสมือนของเสียในร่างกายที่เหลือจากการกำจัดเซลล์ที่หมดอายุลง โดยร่างกายของแต่ละคนจะมีกรดยูริกอยู่ประมาณร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 มักได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป

ปัจจัยที่กระตุ้นให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงจนตกตะกอนเป็นผลึก ได้แก่

  • การรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตส
  • อาการเจ็บป่วยที่มีผลต่อการสร้างเซลล์เพิ่มขึ้น เช่น โรคมะเร็งโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) โรคสะเก็ดเงิน
  • อาการเจ็บป่วยที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างกรดยูริกขึ้นมามากกว่าปกติ ขณะเดียวกันก็ลดความสามารถในการกำจัดกรดยูริกออกจากร่างกาย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไต
  • การใช้ยาบางชนิด ที่ส่งผลให้ไตขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้น้อยลง
  • การป้องกันโรคเก๊าท์ที่สามารถทำได้ คือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคด้วยการไม่รับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่วนการดูแลตัวเองของผู้ป่วย ได้แก่
    • พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตามนัดทุกครั้ง และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเน้นรับประทานโปรตีนจากผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรศึกษาอย่างละเอียดว่าอาหารชนิดใดควรหรือไม่ควรรับประทาน หลีกเลี่ยงฟรุกโตสซึ่งพบมากในน้ำอัดลม
    • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน ไม่ควรลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเพราะอาจเป็นการเพิ่มระดับของกรดยูริกได้
    • ดื่มน้ำให้มากเพื่อขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ
    • หากมีอาการปวดเฉียบพลันให้พักการใช้ข้อที่อับเสบ แล้วใช้วิธีประคบเย็นช่วยบรรเทาอาการ
ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อมีฝุ่น PM 2.5

ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่จำเพาะ หลาย ๆ ท่านมัก...

11 มีนาคม 2023
รับมือ 5 โรค ในหน้าหนาวกับผู้สูงอายุ!!

     เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงปลายปี อุณหภูมิอากาศหนาวเย็นลงส...

21 ธันวาคม 2022
ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้า ได้มากกว่าวัยอื่น

ภาวะอารมณ์เศร้า หรือ ซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Late-life depress...

8 ธันวาคม 2022
message